วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น่ารู้เกี่ยวกับแผนที่

การแบ่งชนิดของแผนที่
               
แผนที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                1. แผนที่แบบแบนราบ คือ แผนที่ซึ่งแสดงรายละเอียดทั่วๆ ไปของพื้นผิวโลกในทางราบเท่านั้นไม่แสดงความสูงต่ำของภูมิประเทศ
                2. แผนที่ภูมิประเทศ คือ แผนที่ซึ่งแสดงรายละเอียดทั่วๆ ไป รวมทั้งลักษณะความสูงต่ำของพื้นผิวโล
                3. แผนที่ภาพถ่าย คือ แผนที่ที่ทำขึ้นจากการถ่ายภาพทางอากาศ ใช้สีสัญลักษณ์ ประกอบเพิ่มเติม สามารถทำได้รวดเร็วแต่อ่านยาก ไม่สามารถสังเกตความสูงต่ำของภูมิประเทศได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า
                     องค์ประกอบของแผนที่
                1. ชื่อของแผนที่
                2. มาตราส่วนของแผนที่
คือ อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางจริงในภูมิประเทศ
                3. สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย
คือ รายละเอียดของสิ่งต่างๆ ของบนพื้นผิวโลกที่แสดงลงบนแผนที่ แบ่งออกเป็น 5 จำพวก
                        3.1 แหล่งน้ำ เช่น ลำธาร แม่น้ำ หนอง บึง ที่ลุ่มชายฝั่ง
                        3.2 สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ถนน ทางรถไฟ อาคาร ฯลฯ
                        3.3 ลักษณะพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ เช่น เขา ภูเขา
                        3.4 พืชพรรณ เช่น ป่า สวน ไร่นา
                        3.5 สิ่งที่กำหนดขึ้นเป็นพิเศษ เช่น แหล่งทรัพยากร
                4. สีที่ใช้ในแผนที่
ที่แสดงรายละเอียดบนแผนที่ สีที่ใช้เป็นมาตรฐาน มี 6 สี
                        4.1 สีดำ ใช้แสดงรายละเอียดที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์ เช่น วัด โรงเรียน หมู่บ้าน
                        4.2 สีแดง ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นถนน
                        4.3 สีน้ำเงิน ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง บึง ทะเล ฯลฯ
                        4.4 สีน้ำตาล ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความสูงและทรวดทรงของพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ
                        4.5 สีเขียว ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบ ป่าไม้ บริเวณที่ทำการเพาะปลูก พืชสวน
                        4.6 สีเหลือง ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับที่ราบสูง
                        4.7 สีอื่นๆ บางโอกาสอาจใช้สีอื่นนอกจากที่กล่าวมาเพื่อแสดงรายละเอียดพิเศษบางอย่าง รายละเอียดเหล่านี้จะมีบ่งไว้ในรายละเอียดในแผนที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น